RSS

ไม่อยากเสียเงินเป็นแสน! อ่าน”คู่มือโรมมิ่งถูกวิธี”ก่อนไปตปท.+ตัวอย่างปัญหาจาก 3ค่าย

04 พ.ค.

 

ไม่อยากเสียเงินเป็นแสน! อ่าน”คู่มือโรมมิ่งถูกวิธี”เมื่อไปตปท.+ตัวอย่างปัญหาจาก 3ค่าย


4 พ.ค.55-ในแต่ละปี ปัญหาที่ประชาชนใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลและเปิดใช้อินเตอร์เน็ต หรือ ดาด้าโรมมิ่ง ระหว่างเดินทางไปต่าประเทศ มักเกิดปัญหาตามมาจากการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกินจริงจากค่ายผู้ให้บริการ ขณะเดียวกันวันนี้เราก็มีตัวอย่างปัญหาจาการรับเรื่องร้องเรียนจาก กสทชซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมุมของค่ายผู้ให้บริการเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหา 

วันนี้ มีคดีปัญหาที่มีผู้ร้องเรียนไปที่กสทช.เล่าสู่กันฟัง

กรณีแรก  ผู้บริโภคภายหนึ่ง ถูกค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ เรียกเก็บค่าใช้บริการเป็นเงินจำนวน 6 หมื่นบาท หลังเปิดดาต้าโรมมิ่ง เมื่อครั้งเดินทางไปประเทศลาว แต่หลังถูกเรียกเก็บเงิน ผู้บริโภครายนี้ ไม่ได้จ่ายและร้องเรียต่อ กสทช. เพราะเห็นว่าถูกคิดในอัตราไม่ถูกต้องตามที่โฆษณาไว้ว่าจะคิดเงินตามการใช้จริง แต่กลับโดนคิดเป็นทุกๆ 1ชั่วโมง เรื่องขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ย 

กรณีที่สอง ผู้บริโภครายนี้  เดินทางไปประเทศเกาหลี รวม 7 วัน เลือกใช้โปรโมชั่น Unlimited 5 วัน 1,400 บาท บวกกับโปรโมชั่นเสริมเพื่อใช้ในอีก 2 วันที่เหลือ รวมจ่ายเพิ่มประมาณ 600 บาท  แต่เมื่อเข้าสู่วันที่ 5 กลับได้รับเอสเอ็มเอ็มจากค่ายผู้ให้บริการ แจ้งว่า มีค่าใช้บริการมากถึง 5 หมื่นบาท ผู้บริโภคคนนี้ จึงแจ้งขอยุติการใช้บริการ และได้ปิดเครื่องโทรศัพท์ แต่เมื่อกลับมาถึงไทย ก็พบว่าถูกเรียกเก็บมากกว่า 2 แสนบาท


กรณีที่สาม ส่วนอีกราย ถูกเรียกเก็บค่าใช้โรมมิ่งมากกว่า 5 หมื่น 7 พันบาท แต่ตอนหลังค่ายมือถือ บอกว่าจะลดค่าใช้บริการให้เหลือ50%  แต่ผู้ร้องเห็นว่าไม่เป็นธรรม เพราะไม่ได้เดินทางไปต่างประเทศ และไม่ได้เปิดใช้ data roaming


ทั้ง 3 กรณี เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคที่เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากค่ายมือถือ และเข้าร้องเรียนไปที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน ของสำนักงาน กสทช. ผ่านสายด่วน  1200 และกสทช.รับเรื่องไว้ตรวจสอบ

ข้อมูลตั้งแต่ปี 2552 ที่สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เดิม ก่อนที่จะมาอยู่ในสังกัดกสทช. ขณะนี้ เก็บสถิติพบว่า มีผู้บริโภคร้องเรียนเพิ่มมากขึ้นเท่าตัว

 ปี 2552  ร้องเรียน  6 ราย 

 ปี 2553 ร้องเรียน 28 ราย

ปี 2554 ร้องเรียน 68 ราย

เดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2555 ร้องเรียน 17 ราย

รวมมูลค่าบริการที่ถูกโต้แย้งตลอดทั้ง 3 ปีเศษ กว่า 4 ล้าน 4 แสนบาท

(คุยกับประชาชน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ รอเดินทางไปต่างประเทศ กับปัญหาโรมมิ่ง)

และเมื่อแยกเป็นแต่ละค่ายจะพบว่า

ค่ายมือถือ     เรื่องร้องเรียน    จำนวนเงินรวม    เฉลี่ยต่อคน      โดนเรียกเก็บสูงสุด    

AIS                    54                  1.99 ล้าน บ.       3.6 หมื่นบ.         270,000 บ.         

DTAC                34                   1.86 ล้าน บ.      5.4 หมื่นบ.         120,000 บ.

TRUEMOVE      28                    6.3 แสน บ.        2.2 หมื่นบ.        294,946 บ. 

 

(“น.พ.ประวิทย์”กสทช. แจกคู่มือใช้มือถือต่างแดน)

สาเหตุของปัญหาโรมมิ่ง (ข้อมูลจากกสทช.)

การโต้แย้งเรื่องการคิดค่าบริการข้ามแดนอัตโนมัติ ประเด็นหลักไม่ใช่เรื่องการคิดค่าบริการผิดพลาด แต่พบว่า ประเด็นหลักคือ

1.  ผู้ใช้บริการไม่ทราบระบบการทำงานของเครื่องโทรศัพท์ที่เกี่ยวกับ DATA เช่น กรณี Blackberry ซึ่งมีการเชื่อมต่อเครือข่ายทุกครั้งที่มีการ pushmail สถานะของเพื่อน ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่าย , กรณีเครื่องโทรศัพท์สมาร์ทโฟนสามารถจับสัญญาณอัตโนมัติ โดยจะเกาะสัญญาณที่แรงกว่าหากเครือข่ายตามแพ็คเกจสัญญาณอ่อน

2. ผู้ใช้ไม่ทราบวิธีการตั้งค่าเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่ เช่น iPhone , iPad, Blackberry

3  ผู้ใช้ไม่ทราบรายละเอียดที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากการใช้บริการ เช่น

·       ค่ารับสาย

·       ค่าโทรออกกรณีไม่มีผู้รับสาย

·       ค่าโทรเข้ากรณีไม่รับสาย (Misscall)

·       กรณีฝากข้อความเสียง

·       การโทรเข้า Call center เมื่อประสบปัญหาจากการใช้งาน

4. ประเด็นปัญหาที่เกิดจากการให้ข้อมูลและการดำเนินการบางประการ อาทิ

·   การจำกัดวงเงินสูงสุด ที่พบว่า หลายกรณีมีการใช้เกินวงเงินที่จำกัด และมีการขยายวงเงินให้โดยไม่แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบ เป็นต้น

·   การแจ้งเตือนปริมาณการใช้บริการยังไม่ Realtime ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงจนเกิดสถานการณ์ Bill Shock

·   การให้ข้อมูลการใช้บริการในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เช่น บางประเทศเมื่อเดินทางไปถึงมีข้อความสั้นให้รายละเอียดค่าบริการครบถ้วน ขณะที่ในบางประเทศไม่ให้รายละเอียด

·       ชื่อ แพ็คเกจ Unlimited ที่อาจต้องมีการแจ้งรายละเอียดแนบท้าย

·   ความครอบคลุมของพื้นที่ให้บริการของเครือข่ายที่สมัครตามรายการส่งเสริมการขาย

ดังนั้นเพื่อป้องกันหรือบรรเทาปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการ จึงเห็นควรมีการหารือร่วมกันว่า ในการสมัครใช้บริการเสริม ประเภท บริการข้ามแดนอัตโนมัติระหว่างประเทศ หรือ International Roaming นั้น ควรมีแนวทางในการให้ข้อมูลกับผู้ใช้บริการอย่างไร ผ่านช่องทางใดบ้าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการเสริมดังกล่าว

วันนี้ กสทช. โดยนายแพทย์ ประวิทย์ลี่สถาพรวงศา กสทช.คุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้ร่วมกับบริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน , บริษัท ท่าอากาศยานไทย และกรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ แจกหนังสือคู่มือการใช้โรมมิ่งที่ถูกต้องให้ประชาชนที่ใช้นริการ ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งประชาชนขอรับได้ฟรี ที่สนามบินานาชาติทุกแห่ง, ศุนย์บริการลูกค้าบ.การบินไทย   ซึ่งหากใครมีปัญหาใช้บริการโรมมิ่ง สามารถร้องเรียนได้ที่ สายด่วน 1200 กสทช.

และนี่คือ คู่มือ การใช้โรมมิ่ง ที่กสทช.แจก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ย้ำอีกครั้ง…มีปัญหา โทรสายด่วน กสทช. 1200  การสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญของมนุษย์เสมอมา..แต่เราก็ต้องการใช้บริการในราคาที่เป็นธรรมไม่ต่างกัน  ปิดท้ายเรื่องเล่าวันนี้ ขอยกคำพูด”คุณหมอลี่” กสทช. ที่ว่า

“..บางคนโดนเก็บค่าโรมมิ่งกว่า 200,000 บาท แม้ค่าโรมมิ่งส่วนนี้ ไม่ใช่รายได้หลักของค่ายมือถือ แต่เงินจำนวนนี้ก็อาจเป็นรายได้ทั้งชีวิตของคนที่โดนเรียกเก็บ”

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,

2 responses to “ไม่อยากเสียเงินเป็นแสน! อ่าน”คู่มือโรมมิ่งถูกวิธี”ก่อนไปตปท.+ตัวอย่างปัญหาจาก 3ค่าย

  1. นาง รัชฎากรณ์ โนมูระ

    กันยายน 8, 2012 at 20:44

    เรียน ผอ.นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
    ข้าพเจ้าอยากเรียนถามว่าเมื่อผู้บริโภคถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ เบื้องต้นก็คือผู้บริโภคร้องเรียนขอความช่วยเหลือ
    จากทางสถาบันคุ้มครองผู้บริโภค แต่พอเรื่องเข้าสู่ขบวนการศาลแล้วทุกอย่างที่ร้องเรียนไม่มีผลอะไรเกิดขึ้นเลย ข้าพเจ้าต้องเริ่มใหม่เหมือนไม่เคยได้ร้องเรียนผ่านทาง (สบท.) คือตอนนี้ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าควรไปขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานใหนถึงจะช่วยไม่ให้ผู้ประกอบการสามารถเอาเปรียบผู้บริโภคได้เหมือนที่ข้าพเจ้ากําลังประสบกับปัญหาอยู่
    ข้าพเจ้าส่งคําร้องไปที่ (สบท.) เรื่องทรูเรียกเก็บค่าบริการ 316,341.33 บาท เนื่องจากเปิดโรมมิ่งแล้วนําไปใช้ที่อินเดีย 7 วัน 3 วันแรกสัญญาณถูกระงับใช้ แต่ทรูให้บริการรับสายเข้าปกติเฉพาะค่ารับสายเกือบ 3 แสน
    ข้าพเจ้าเคยร้องเรียนผ่านรายการเนชั่นทีวีครั้งหนึ่ง ท่านผอ. นายแพทย์ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อยู่ในสายให้คําแนะนําชี้แจ้งแต่
    ตอนนี้ทรูยื่นฟ้องและนัดขึ้นศาลวันที่ 28 กันยายน 55 นี้
    ข้าพเจ้าอยากเรียนถามถึงขั้นตอนหลังจากนี้ ว่าควรทําอย่างไร เพราะขบวนการถึงศาลแล้วเรื่องที่ข้าพเจ้าได้ร้องเรียนผ่านทาง (สบท.) นั้นไม่มีผลอะไรต่อผู้ให้บริการได้ปรับปรุง ชี้แจง แก้ไข
    หรือรู้สึกสํานึกที่จะรับผิดบ้างเลยเหรอคะ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    เพราะทรูแจ้งให้ชําระยอด 316,341.33 บาทและค่าผิดนัดอีก 3 หมื่นกว่า

     
  2. Vitsanu Jamnongvut

    พฤษภาคม 26, 2013 at 12:29

    เอาเปรียบชัดๆ

     

ส่งความเห็นที่ นาง รัชฎากรณ์ โนมูระ ยกเลิกการตอบ